ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ท้อ ๓ '

    ท้อ ๓  หมายถึง (กลอน) ก. กล่าว, โต้, เถียง.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ท้อถ้อย

    น. คําโต้. ก. กล่าวโต้, กล่าวประชัน, ใช้ว่า ถ้อถ้อย หรือ ท่อถ้อย ก็มี.

  • ทอก

    น. โบราณเรียกนกยางชนิดหนึ่งว่า ยางทอก; เรียกหมูขนาดใหญ่เขี้ยวตันว่า หมูทอก; เรียกช้างตัวใหญ่ ๆ ที่เป็นจ่าฝูงว่า อ้ายทอก.

  • ทอง ๑

    น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่าเช่น บ่อทอง เหรียญทอง ทองแท่ง ทองลิ่ม, เรียกเต็มว่า ทองคํา;เรียกสิ่งที่ทําด้วยทองเหลืองว่า ทอง ก็มี เช่น กระทะทอง หม้อทอง,โดยปริยายหมายถึงสีเหลือง ๆ อย่างสีทอง เช่น เนื้อทอง ผมทองแสงทอง, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสีเป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น ขนมทอง คือขนมชนิดหนึ่ง รูปวงกลมมีนํ้าตาลหยอดข้างบน, ปลาทอง คือปลาชนิดหนึ่ง ตัวสีเหลืองหรือแดงส้ม.

  • ทองกร, ทองพระกร

    (ราชา) น. กําไลมือ.

  • ทองกร, ทองพระกร

    (ราชา) น. กําไลมือ.

  • ทองขาว

    (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบส่วนหนึ่งของจานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่เป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทําให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่าขาดวงจรเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้มีประกายไฟฟ้าขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.

  • ทองคำ

    น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณต่าง ๆและทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วยหน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด,โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔),ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่าดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒